วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติและความเป็นมา ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ตอนที่2

นิกายต่างๆของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู 
          ศาสนาฮินดู ที่สืบเนื่องจากศาสนาพราหมณ์นับเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุด ได้แบ่งออกเป็นหลายนิกายที่สำคัญ เช่น
1. นิกายไวศณพ (Vishnav) เป็นนิกายที่นับถือพระวิษณุเจ้าเป็นเทพองค์สูงสุด เชื่อว่าวิษณุสิบปาง หรือนารายณ์ ๑๐ ปางอวตารลงมาจุติ มีพระลักษมีเป็นมเหสี มีพญาครุฑเป็นพาหนะ นิกายนี้มีอิทธิพลมากในอินเดียภาคเหนือและภาคกลาง ของประเทศ นิกายนี้เกิดเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ สถาปนาโดยท่านนาถมุนี (Nathmuni)
2. นิกายไศวะ (Shiva) เป็นนิกายที่เก่าที่สุด นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระศิวะเป็นเทพทำลายและสร้างสรรค์ด้วย สัญลักษณ์ อย่างหนึ่งแทนพระศิวะคือศิวลึงค์และโยนีก็ได้รับการบูชา เช่น องค์พระศิวะ นิกายนี้ถือว่าพระศิวะเท่านั้นเป็นเทพสูงสุดแม้แต่พระพรหม, พระวิษณุก็เป็นรองเทพเจ้าพระองค์นี้ นิกายนี้เชื่อว่า วิญญาณเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นมากกว่าความเชื่อในลัทธิภักดี นิกายนี้จะนับถือพระศิวะและพระนางอุมาหรือกาลีไปพร้อมกัน
3. นิกายศักติ (Shakti) เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ เช่น สรัสวดี พระลักษมี พระอุมา เจ้าแม่ทุรคา และเจ้าแม่กาลีซึ่งเป็นชายาของมหาเทพทั้งหลาย เป็นผู้ทรงกำลังหรืออำนาจของเทพสามีไว้ จึงเรียกว่า ศักติ (Power) นิกายนี้เป็นที่นิยมในรัฐเบงกอล และรัฐอัสสัม เป็นต้น
4. นิกายคณะพัทยะ (Ganabadya) นิกายนี้นับถือพระพิฆเณศเป็นเทพเจ้าสูงสุด ถือว่าพระพิฆเนศเป็นศูนย์กลางแห่งเทพเจ้าทั้งหมดในศาสนา เชื่อว่าเมื่อได้บูชาพระพิฆเนศอย่างเคร่งครัด ก็เท่ากับได้บูชาเทพอื่นๆ ครบทุกพระองค์
5. นิกายสรภัทธะ (Sarabhadh) เป็นนิกายขนาดเล็ก ในสมัยก่อนบูชาพระอาทิตย์ (สูรยะ) มีผู้นับถือมากในอดีต ปัจจุบันมีจำนวนน้อย นิกายนี้มีพิธีอย่างหนึ่งคือ กายตรี หรือ กายาตรี (Gayatri) ถือว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ คือการกลับมาของพระอาทิตย์เป็นฤๅษีวิศวามิตร
6. นิกายสมารธะ (Samardha) เป็นนิกายที่ใหญ่พอสมควร นับถือทุกเทพเจ้าทุกพระองค์ในศาสนา ฮินดู ความเชื่อแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบูชาเจ้าได้ตามต้องการ
ยังมีนิกายอื่นๆอีกมากมาย และแยกย่อยออกไปอีก เช่นเดียวกับศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ ที่มีนิกายน้อย-ใหญ่ แตกแขนงออกมาอีกนับไม่ถ้วน

ประวัติและความเป็นมา ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ตอนที่1

           ศาสนาฮินดู หรือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาเกิดที่ดินแดนชมพูทวีปก่อนพุทธศาสนา ซึ่งไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีคัมภีร์ศาสนาเรียกว่า พระเวท มีพัฒนาการสืบต่อยาวนาน นับจากลัทธิพราหมณ์ จนถึงยุคที่เรียกว่าศาสนาฮินดู จึงมักเรียกรวมๆ กันว่า ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน[
          ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ คือ พระศิวะ(พระอิศวร) เป็นผู้ทำลายความชั่วร้าย  พระพรหม ซึ่งเป็นผู้สร้างโลก  และ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เป็นผู้ปกป้องและรักษาโลก
           
          ประวัติศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ศาสนาฮินดู มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมากกว่า ๓,๐๐๐ ปี เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาเป็นผู้ประกาศศาสนา เป็นศาสนาของชาวอารยะ(ภาษาบาลีเรียกว่าชาวอริยกะ)ซึ่งเชื่อกันว่าอพยพมาจาก ยุโรป เข้ามาสู่อินเดียเมื่อราว ๓,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว ชาวฮินดูเชื่อว่าศาสนาฮินดูสืบทอดมาจากคัมภีร์พระเวทซึ่งเชื่อว่าฤาษีในสมัย ก่อนได้รับ โดยตรงจากพระเป็นเจ้าจึงมีชื่อเรียกรวมๆว่า คัมภีร์ศรุติ (Śruti) จากหลักฐานทางโบราณคดีทำให้เราทราบว่าชาวพื้นเมืองเดิมที่บริเวณลุ่มแม่น้ำ สินธุ
ุ        เป็นเจ้าของวัฒนธรรมซึ่งเรียกกันว่า อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (ราว ๒๐๔๗-๑๓๕๗ปี ก่อน พ.ศ.) เป็นอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองเพราะมีการสร้างเมืองที่มีผังเมืองเป็น ระเบียบ ประชาชนมีการอาบน้ำตามพิธีทางศาสนาเคารพบูชาเทพเปลือยกายที่มีเขาและมีสัตว์ แวดล้อม กราบไหว้เทพที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ นับถือสัตว์คล้ายวัวมีเขาหนึ่งเขา ศาสนาของชาวพื้นเมืองเดิมแตกต่างจากศาสนาของชาวอารยะที่อพยพเข้ามาในภายหลัง ที่มาตั้งรกรากยุคแรกๆที่ลุ่มแม่น้ำสินธุ ชาวอารยะยุคแรกๆเคารพนับถือเทพหลายองค์ที่เป็นพลังอยู่เบื้องหลังธรรมชาติ ซึ่งยังไม่มีรูปร่างแบบรูปร่างมนุษย์อย่าง ชัดเจนเหมือนเทพในศาสนาฮินดูยุคหลัง ยุคที่ชาวอารยะเข้ามานั้นอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุได้ล่มสลายไปแล้ว แต่ศาสนาของชาวพื้นเมืองเดิมก็ยังคงมีผู้นับถือต่อมาและได้มีอิทธิพลต่อ ศาสนาของชาวอารยะในสมัยหลัง
        ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุดในโลก ศาสนาหนึ่ง มีอายุกว่า 4,000 ปี เนื่องจากศาสนา นี้มีวิวัฒนาการ อันยาวนานผ่านขั้นตอนทางประวัติศาสตร์หลายขั้นตอนตั้งแต๋โบราณกาลถึง ปัจจุบัน จึงเป็นการยากในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ให้แจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งกว่าศาสนาอื่นๆ ไม่มีใครกำหนดได้ว่าศาสดาคือใคร จนต้องถือว่าไม่มีศาสดา หรือผู้ก่อตั้งศาสนา คิดว่าเกิดจาก การได้ยินได้ฟังต่อๆ กันมา หรือเกิดจากประสบการณ์ทางศาสนา ของชาวฮินดูร่วมกัน เกิดเป็นคำสอน เป็นคำภีร์ขึ้นจนผู้นับถือศาสนา มีความเชื่อและแนวทางปฏิบัติต่างกันมากมาย ทั้งในสมัยเดียวกัน และสมัยต่างกัน แม้แต่ชื่อของศาสนาเอง ก็ยังเรียกต่างกันไปตาม กาลเวลา
  
          แนวคิดและคำสอน  ศิวลึงค์ เป็นความคิดที่พราหมณ์ในสมัยก่อนคิดกันขึ้นมาเพื่อแสดงเป็น สัญลักษณ์ มิใช่ความปรารถนาของพระศิวะที่จะให้พราหมณ์นับถือศิวลึงค์ หรือโยนีสำหรับลัทธิศักติ การบูชาพระศิวะสามารถทำได้ด้วยการกระทำความดีเพื่อถวายแก่พระศิวะ ผู้ที่ปรารถนาที่จะกลับเข้าสู่ความเป็นอาตมัน หรือ ตรัสรู้สามารถทำได้โดยการ ทำสมาธิ และ ให้คิดว่าร่างกายนี้เราก็ละในที่สุดก็จะตรัสรู้และ มีแสงเป็นจุดกลมๆเป็น ฝอยๆสีขาวคล้ายน้ำหมึก ขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตรบางอันก็เล็กกว่า และมีแสงเป็นรูปคล้ายดาวกระจายขนาดประมาณครึ่งนิ้ว แสงที่เห็นจะมีน้ำหนัก มีลักษณะเป็นก้อน เมื่อกระทบวัตถุสามารถเด้งกลับได้ การตรัสรู้ของศาสนาพราหมณ์คือ "การรู้ว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา" 

         

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

องค์พ่อพระพิฆเนศ - Ganesha - Lord Ganesha



" โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา "

ด้วยความเคารพ ศรัทธา ความรัก  และ  นับถือ ที่มีต่อ องค์พ่อพระพิฆเนศ  จึงได้เกิด เว็บบล๊อกนี้ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งความรู้ ประวัติความเป็นมาขององค์พระพิฆเนศวร วิธีการบูชาต่อพระพิฆเนศ เพื่อส่งเสริมบารมีและเป็นกุศลผลบุญ แก่ผู้ที่ศรัทธาต่อพระคเณศ
เนื้อหาในนี้รวบรวม และ ศึกษามากจากหลากหลายตำรา เพื่อที่จะได้นำมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

สุดท้ายนี้ การบูชาต่อองค์พ่อพระพิฆเนศ หรือ เหล่าเทพเทวา ต่างๆ อยู่ที่ความเคารพและศรัทธาของแต่ล่ะบุคคล อีกทั้งการสะสม หมั่นทำความดี ทำบุญ ทำกุศล จะส่งเสริมให้ องค์เทพต่างๆจะประทานความสำเร็จให้แก่ท่านเอง