วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คำทำนายของ สมเด็จ พุทฒาจารย์ ( โต พรหม รังสี) ตอนที่2

>     คำเตือน
>     โลกมนุษย์กำลังเข้าสู่กาลียุค  จะทำให้เกิดภัยธรรมชาติ  จาก ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  
>     จะเกิดมหาสงครามโลกครั้งที่สามตามมา  มนุษย์จะตายไปกว่าครึ่ง
>     ไฟ โดยเฉพาะจังหวัดติดชายทะเล  และ กรุงเทพฯ
>     แผ่นดินจะยุบตัวคลื่นน้ำจะพัดเข้าถล่ม
>     มีความสูงกว่า  200 เมตร มนุษย์จะล้มตายมากกว่าครึ่ง
>     น้ำจะเข้าช่องแคบสระบุรี  และทางด้านตอนล่างของโคราชบางส่วน
>     ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ สุดท้าย
>     ประเทศไทยจะเหลือประชากรประมาณ 30 %
>     ส่วนประเทศอื่นทั่วโลกจะเหลือเพียง 10%
>     ประชากรผู้รอดชีวิตส่วนมากจะสูญเสียสติสัมปชัญญะไม่ปลอดภัยเหมือนเมืองที่นับถือพระพุทธศาสนา
>     เพราะไม่เข้าใจบำเพ็ญฌานภาวนา
>     ฉะนั้นอย่าหลงใหลในทรัพยสินของตนให้มากนัก
>     เพราะเมื่อเข้าสู่ยุคศิวิไลเงินทอง จะไม่มีค่าเลยเพราะ
>     มนุษย์ยุคนั้นจะเข้าวัดกันที่ความดี ศีลธรรม  ปีมะโรง พ.ศ. 2555
>     ปีมะเส็ง พ.ศ. 2556 ปีระกา พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2561 ปีกุน พ.ศ. 2562
>     คำทำนายของสมเด็จ พุทฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

> รัชกาลที่ 1   ทายว่า มหากาฬ    (ทำลายเพื่อน พี่น้อง)
> รัชกาลที่ 2   ทายว่า ฌาณยักษ์   (ชำนาญเวทมนต์)
>รัชกาลที่ 3   ทายว่า รักมิตร       (มีการค้ากับต่างชาติมากมาย)
>รัชกาลที่ 4   ทายว่า สนิทคำ      (ออกบวช)
>รัชกาลที่ 5   ทายว่า จำแขนขาด (เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง 
> และเขมร เพื่อปกป้อง อธิปไตย)
>รัชกาลที่ 6   ทายว่า ราชโจร
>เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดกลุ่มโจรมากมาย มีการตั้งกองเสือป่าครั้งแรกของเมืองไทย
>รัชกาลที่ 7   ทายว่า ชนร้อนทุกข์ (เกิดการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย)
>รัชกาลที่ 8   ทายว่า ยุคทมิฬ      (พระเจ้าแผ่นดินถูกลอบปลงพระชนม์)
>รัชกาลที่ 9   ทายว่า ถิ่นกาขาว     (มีฝรั่งเข้ามามากมาย นำเงินมาซื้อประเทศไทยให้เกิดวิกฤตการเงิน)
>รัชกาลที่ 10 ทายว่า ชาวศิวิไลย์   (จะมีเหลือเฉพาะผู้ที่มีบุญเท่านั้นที่รอคอย เป็นยุคของพระศรีอริยเมตไตย)

>" โลชังชม โทโพโส อินโกรุณา
>
พระอิทร์พรหม ยมราช ได้สั่งไว้ว่า ถ้าบุคคลใดได้รู้แล้ว จงรับบอกต่อให้คนอื่นฟังรือพิมแจกตามกำลังศัทธา จะเกิดมหากุศลช่วยให้ท่านหลุดพ้นจากมหันตภัยพิบัติทั้งปวง ถ้าใครไม่มีไว้ในบ้านจะมีภูมิปีศาจเข้ามาทำลายอย่างแน่แท้ ผู้ใดนำเรื่องไปพิมแจก 1000 ใบ ภายใน 15-30 วัน ผู้นั้นจะมีโชคลาภ มีความสุข ความเจริญ คิดสิ่งใดสมปรารถนาทุกประการ และผู้ใดได้รู้ได้อ่าน อย่าคิดว่าเป็นการหลอกลวง หรือไม่เชื่อ และผู้ใดคิดจะพืมแจก ก็ต้องพิมพ์แจกภายใน 15-30 วัน อย่าคิดพิมพ์ผัดวันประกันพรุ่ง หรืออ่านแล้วทิ้ง มันผู้นั้นจะมีเรื่อง และมีภัยพิบัติเกิดขึ้นกับผู้นั้น




FW...

คำทำนายของ สมเด็จ พุทฒาจารย์ ( โต พรหม รังสี) ตอนที่1

>     พุทธทำนาย เมื่อปี พ.ศ. 2485 แปลจากศิลาจารึกในมหาวิหารเจตมหาเชตวัน

>     สาธุ อะระหังสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเมตตามหาสัพสัตว์ทั่วโลก

>     ที่เกิดมาแล้วแต่ลำบาก  ทั่วหน้ามุกชาติ

>     ทุกศาสนาตามธรรมชาติ เมื่ออาตมาเข้านิพพานแล้วครบ  5,000  ปีเป็นที่สุด

>     โลกจะหมุนเข้าใกล้จำนวนที่ ตถาคตทำนายไว้ 2,500
   
>     ปีมนุษย์ และ สัตว์จะได้รับภัยพิบัติเสียหนึ่งในระยะ  30  ปี

>      สิ่งที่สาธุชนไม่เคยเจอะจะได้เห็น  ไม่เคยพบจะได้พบยักษ์หินที่ถูกสาป
  
>     ให้หลับกลับตื่นขึ้นมาอาละวาดยิ่งนัก ใกล้กับ พ.ศ. 2550

>     ยิ่งทวีกันใหญ่ขึ้นทุกทิวาราตรี มนุษย์นอกศาสนาจะรบราฆ่าฟันกันจนถึงเลือดตนเองนองเต็มพื้นดิน

>     พื้นน้ำจะลุกลามเผามนุษย์ไม่ขาดระยะ  ต่างฝ่ายต่างทำลาย เหมือน ยักษ์

>     กระหายเลือด แผ่นดินจะลุกเป็นเปลวไฟ

>     ต่างฝ่ายจะตายกันไปอย่างละครึ่งหนึงจึงจะล้มเลิก

>     ส่วนพุทธศาสนิกชน  ผู้ทำแต่บุญเดินตามทางตถาคตสามารถระงับร้อนไม่รุนแรง

>     แต่หนีภัยพิบัติไม่พ้น  ไฟจะลุกลามทางทิศตะวันออกไหม้วัดวาอาราม

>     สมณะชีพราหมณ์  จะอดอยากยากเข็ญ  ลูกไฟจะตกจากฟ้าเหล็กกล้าจะพุดจากน้ำ

>     สงครามจะเกิดทั่วทิศ  ทหารจะเป็นเจ้า  สีขาวจะแพ้ภัยในที่สุด

>     ครุฑจะบินกลับฐาน  คนจะกลับบำรุงพระ

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

องค์พระพิฆเนศที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี

องค์พระพิฆเนศวรที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระศรีมหาอุมาเทวีแห่งนี้ ประดิษฐานอยู่ภายในอาคารเทวาลัยประธานสององค์ด้วยกัน คือ



          องค์แรก ประดิษฐานอยู่ภายในห้องขนาดเล็กด้านขวาของห้องที่ประดิษฐานเทวรูปพระศรีมหามารีอัมมัน ซึ่งถือเป็นเทวรูปประธานของวัด โดยมีลักษณะเป็นเทวรูปพระคเณศประทับนั่ง ทำจากหินแกรนิตสีดำ มีสี่พระกร พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วง) พระกรขวาบนถืออังกุศะ (ขอสับ) พระกรซ้ายล่างถือถ้วยขนม พระกรขวาล่างถืองา ปลายงวงตวัดไปทางซ้ายที่ถ้วยขนม งาที่ด้านขวาหัก และทรงสวมกรัณฑมงกุฎ มีซุ้มหน้ากาล(ทำจากโลหะ)ตั้งอยู่ด้านหลังเทวรูป โดยเทวรูปประดิษฐานอยู่บนแท่นหินสี่เหลี่ยมสีน้ำตาล ด้านหน้าแท่นดังกล่าว เป็นแท่นสีเหลี่ยมที่มีลักษณะคล้ายกันแต่มีขนาดเล็กกว่า สำหรับใช้เป็นที่ตั้งรูปพาหนะขององค์พระคเณศ นั่นก็คือ หนู ทำจากหินแกรนิตสีดำเช่นเดียวกัน







         (เทวรูปพระคเณศที่ทำจากหินแกรหิตสีดำ ประดิษฐานเบื้องหน้าหนู เทพพาหนะของพระองค์ท่าน ภายในเทวาลัยประธานวัดพระศรีมหาอุมาเทวี : ภาพจากหนังสือเรื่อง พระพิฆเนศวร์ : คติความเชื่อและรูปแบบของพระพิฆเนศวร์ที่พบในประเทศไทย)สำหรับเทวรูปพระคเณศองค์นี้ อ.จิรัสสา คชาชีวะ แห่งคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้สันนิษฐานตามลักษณะทางประติมานวิทยาว่า มีลักษณะตามแบบศิลปะอินเดียใต้ตอนปลาย พระวรกายอ้วนเตี้ย ค่อนข้างเทอะทะ หากแต่แฝงไว้ด้วยความหนักแน่นและมีอำนาจ




          เทวรูปพระคเณศอีกองค์หนึ่งซึ่งประดิษฐานรวมอยู่กับเทวรูปขององค์ประเป็นเจ้าอื่นๆบนแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง บริเวณฝั่งขวาด้านในอาคารเทวาลัยประธาน โดยประดิษฐานอยู่เป็นองค์แรกของแท่นดังกล่าว มีลักษณะเป็นเทวรูปสำริด ประทับยืน มีสี่พระกร พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วง) พระกรขวาบนถืออังกุศะ (ขอสับ) พระกรซ้ายล่างถือขนม พระกรขวาล่างถืองา ปลายงวงตวัดหยิบขนมที่อยู่ในพระกรซ้าย งาที่ด้านขวาหัก (คล้ายกับเทวรูปที่ทำจากหินแกรนิตสีดำที่กล่าวไปในข้างต้น) มีซุ้มกาลอยู่เบื้องหลังของเทวรูป 
          ในส่วนของลักษณะทางศิลปกรรมของเทวรูปองค์นี้ เป็นรูปแบบของอินเดียใต้ โดยเทวรูปพระคเณศสำริดองค์นี้จะมีการอัญเชิญออกมาประกอบพิธีสำคัญของวัดหลายพิธี เช่น พิธีคเณศจตุรถี (พิธีบูชาเนื่องในวันคล้ายวันประสูติขององค์พระคเณศ) พิธีบูชาองค์บรมครู(เป็นพิธีบูชาองค์พระคเณศก่อนที่จะเริ่มต้นเทศกาลนวราตรี) เป็นต้น โดยจะมีการอัญเชิญเทวรูปองค์นี้ออกแห่เพื่อให้สานุศิษย์ทั้งหลายได้มีโอกาสสักการะด้วย




แหล่งข้อมูลประกอบการเรียบเรียง :

- หนังสือ พระพิฆเนศวร์ : คติความเชื่อและรูปแบบของพระพิฆเนศวร์ที่พบในประเทศไทยโดย อ.จิรัสสา คชาชีวะ

- สารนิพนธ์เรื่อง รูปแบบทางสถาปัตยกรรมและประติมานวิทยาที่เทวสถานพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) โดย วรรณพรรธน์ เรืองทรัพย์

- รายงานการศึกษาเรื่อง ความสำเร็จในการปฏิบัติภาระกิจของวัดพราหมณ์-ฮินดู : กรณีวัดพระศรีมหาอุมาเทวี โดย บำรุง คำเอก

- หนังสือ ๑๐๐ มุมมองใหม่กรุงเทพฯ โดย กองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

- หนังสือ ของดีกรุงเทพฯ โดย กองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

- บทความเรื่อง “ศักติ ออนทัวร์” โดย ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙



แหล่งที่มาของภาพ :

- ภาพพระคเณศหินแกรนิตสีดำ จากหนังสือ พระพิฆเนศวร์ : คติความเชื่อและรูปแบบของพระพิฆเนศวร์ที่พบในประเทศไทยโดย อ.จิรัสสา คชาชีวะ

- ภาพองค์พระคเณศสำริด โดย คุณหยวน จากเว็ป Hindu Meeting (เดิม)

- ภาพงานแห่พระคเณศในวันบูชาบรมครู วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ โดย คุณลองภูมิ จากเว็ป โอม อารตี

- ภาพขบวนแห่งานประจำปีวัดพระศรีมหาอุมาเทวี วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ โดย @todi_tim จากเว็ป pongdej.multiply.com
 

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) ตอนที่ 2



             ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของวัดพระศรีมหาอุมาเทวีนี้ ถือว่ามีความงดงามตามรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอินเดียตอนใต้ โดยมีช่างผู้ชำนาญการชาวทมิฬ รัฐทมิฬนาฑุ ประเทศอินเดียเป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง จึงทำให้วัดพระศรีมหาอุมาเทวีแห่งนี้มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเทวาลัยในอินเดียทางตอนใต้เป็นอย่างมาก โดยตัววัดประกอบด้วยซุ้มโคปุระจำนวนสองซุ้ม ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออก ซุ้มโคปุระทางด้านทิศตะวันออกจะมีขนาดใหญ่กว่าโคปุระทางด้านทิศเหนือ โดยล้อมรอบตัววัดทั้งทางด้านถนนปั้นและถนนสีลมด้วยกำแพงทั้งสองด้าน




(ส่วนหลังคาของเทวาลัยภายในวัดพระศรีมหาอุมาเทวี มีการประดับด้วยรูปปั้นของพระเป็นเจ้าในศาสนาฮินดู)





(ซุ้มโคปุระทั้งสองด้านของวัด โดยด้านริมของภาพเป็นซุ้มโคปุระทิศเหนือ ส่วนซุ้มตรงกลางของภาพเป็นซุ้มโคปุระทางด้านทิศตะวันออก) 


(ภาพซุ้มโคปุระด้านทิศตะวันออก ฝั่งถนนปั้น เป็นซุ้มโคปุระที่มีขนาดใหญ่ และมีความสวยงามจากการประดับด้วยเทวรูปปูนปั้นของเทพสตรีในปางต่างๆตามความเชื่อของชาวฮินดู) 



                            (ส่วนเรือนยอดของซุ้มโคปุระทางด้านทิศตะวันออก) 




             ถัดจากซุ้มโคปุระทางด้านทิศตะวันออกเข้ามาในบริเวณวัด ทางด้านซ้ายของเทวาลัยประธาน จะพบซุ้มพระเป็นเจ้าของทางศาสนาฮินดูจำนวนสองหลัง คือ ซุ้มของพระพรหม ที่หล่อจากสำริดและซุ้มของเทพนพเคราะห์ในศาสนาฮินดูที่แกะสลักจากหินสีดำ ถัดไปทางด้านหน้าของเทวาลัยประธาน จะมีแท่นหินรูปดอกบัว, เสาธงที่ทำด้วยทองเหลือง,และซุ้มสิงห์ตามลำดับ ซึ่งสิงห์นี้ถือเป็นเทพพาหนะของพระแม่ทุรคาซึ่งเป็นปางหนึ่งของพระแม่อุมาเทวี เทพสตรีที่ได้รับความเคารพอย่างมากในนิกายศักติ ถัดไปทางด้านซ้ายทางทิศตะวันออกจะเป็นหอศิวลึงค์ ประดิษฐานศิวลึงค์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ขององค์ศิวะ มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ ส่วนทางด้านขวาของเทวาลัยประธานทางทิศใต้ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในมีซุ้มเทวรูปจำนวนสามหลังสำหรับใช้ประดิษฐานเทวรูปของเทพองค์ต่างๆ เช่น พระกันตวรายัน พระเปริยาจี พระอัคนิวิรั่น และพระมทุไรวิรั่น ซึ่งทั้งหมดเป็นเทพท้องถิ่นตามความเชื่อของชาวทมิฬ ในประเทศอินเดียทางตอนใต้ 









ภายในเทวาลัยประธาน มีลักษณะอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งด้านในสุดออกเป็นสามส่วน ตรงกลางเป็นห้องสำหรับประดิษฐานเทวรูปของพระศรีมหามารีอัมมัน (Mariamman) หรือพระศรีมหาอุมาเทวี ถัดไปทางด้านขวาเป็นห้องขนาดเล็กสำหรับประดิษฐานเทวรูปองค์พระพิฆเนศ และเช่นเดียวกันทางฝั่งซ้ายเป็นห้องขนาดเล็กสำหรับประดิษฐานเทวรูปของพระขันธกุมาร ซึ่งเทวรูปทั้งสามองค์ที่นี้สร้างมาจากหินแกรนิตสีดำ โดยอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียเมื่อครั้งที่เริ่มสร้างวัดแห่งนี้





 
นอกจากนี้ทางฝั่งขวาและซ้ายของเทวาลัยประธานยังเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูปสำคัญอีกหลายองค์ โดยทางฝั่งขวาเริ่มนับจากประตูทางเข้าประดิษฐานองค์พระพุทธชินราชจำลอง หรือที่นิยมเรียกกันว่า หลวงพ่อชินราชวัดแขก ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ถัดมาเป็นเทวรูปของพระเป็นเจ้าองค์ต่างๆ เช่น พระคเณศ พระวิษณุ พระกฤษณะ พระศิวะ พระขันธกุมาร พระแม่อุมา พระแม่ลักษมี และพระแม่สรัสวตี เป็นต้น ส่วนทางฝั่งซ้ายภายในเทวาลัยเป็นซุ้มขนาดเล็ก ซึ่งภายในประดิษฐานเทวรูปศิวะนาฏราชและพระแม่ศิวะกามี่ โดยเทวรูปทั้งหมดที่กล่าวไปในข้างต้นหล่อจากโลหะสำริด อัญเชิญมาจากประเทศอินเดียเพื่อมาประดิษฐานภายในเทวาลัยประธานแห่งนี้
 

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) ตอนที่ 1


       

           กล่าวถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือ ศาสนสถานทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในกรุงเทพมหานคร วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ ที่นิยมเรียกกันว่า วัดแขก สีลมก็คงเป็นอีกหนึ่งศาสนสถานที่หลายท่านรู้จักและเคยแวะเวียนไปกราบสักการะ ณสถานที่แห่งนี้ โดยศาสนสถานดังกล่าวมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและมีความน่าสนในที่สำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผมหยิบยกเรื่องราวของศาสนสถานแห่งนี้มาเรียบเรียงเป็นบทความขึ้นก็เนื่องมาจาก สถานที่นี้เป็นอีกแห่งที่ประดิษฐานเทวรูปองค์พระคเณศซึ่งมีลักษณะทางประมากรรมที่งดงามตามแบบฉบับของอินเดียใต้ 

           ในส่วนพื้นที่แถวสีลมชาวอินเดียที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในบริเวณถนนสีลมนั้นมีทั้งชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลามและชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู โดยส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมถนนตั้งแต่สุสานจีนไปจนถึงถนนสุรศักดิ์ แถบตรอกตำบีซา ตรอกไวตี ถนนปั้น ถนนประมวญและริมคลองบริเวณซอยประดิษฐ์ ซอยปราโมทย์และซอยตรงข้ามถนนคอนแวนต์ ซึ่งในอดีตบริเวณดังกล่าวมีชาวอินเดียอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันมีจำนวนชาวอินเดียที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้อย่างถาวรมีจำนวนลดลง เนื่องจากส่วนหนึ่งได้มีการอพยพออกนอกพื้นที่หรือไม่ก็กลับประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของตนไป 


(พระแม่มารีอัมมัน เทพสตรีที่ชาวอินเดียตอนใต้หรือชาวทมิฬ ซึ่งเป็นผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู นิกายศักติให้ความเคารพสักการะ)



          จากการตั้งถิ่นฐานของชาวอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องมีการก่อสร้างศาสนสถานเพื่อเป็นศูนย์รวมแห่งความศรัทธาของผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู และเพื่อเป็นที่ประกอบพิธีบูชาพระเป็นเจ้าตามลัทธิความเชื่อของตน นั่นจึงเป็นที่มาของการสร้างเทวสถานพระศรีมหาอุมาเทวีขึ้น ซึ่งวัดแห่งนี้ถือเป็นวัดในศาสนาฮินดู นิกายศักติ สร้างโดยชาวอินเดียที่อพยพมาจากทางอินเดียตอนใต้ ที่เรียกว่า ชาวทมิฬ ในระยะแรกมีการก่อสร้างเป็นเพียงศาลไม้เล็กๆเพื่อประดิษฐานองค์พระแม่ศรีมารีอัมมัน     (พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี) ซึ่งเป็นเทพสตรีที่ชาวทมิฬให้ความเคารพสักการะ






          ในสมัยต่อมาราวปี พ.ศ.๒๔๓๘-๒๔๔๓ (ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕) ชาวอินเดียตอนใต้ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณถนนสีลม นำโดยนายไวตี ประเดียอะจิ นายนารายเจติ นายโกบาระตี และญาติมิตรที่มีจิตศรัทธาได้ร่วมใจกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินตรงถนนปั้น (บริเวณที่ตั้งปัจจุบันของวัดแขก) เพื่อที่จะสร้างเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งที่ดินบริเวณนี้สวนผักของนางปั้น อุปการโกษา จำนวน ๒๙๒ ตารางวา และเมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้มีการจัดตั้งเป็นคณะกรรมการเพื่อบริหารดูแลเทวสถานแห่งนี้ด้วย โดยต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๘ ได้มีการจดทะเบียนเทวสถานแห่งนี้ในนาม “มูลนิธิวัดพระศรีมหามารีอัมมัน” และได้มีการนำเทวรูปจากประเทศอินเดียมาประดิษฐานเพิ่มขึ้นจากเมื่อครั้งที่เริ่มสร้างวัด นอกจากนี้ทางคณะกรรมการมูลนิธิฯยังได้เชิญพราหมณ์จากประเทศอินเดียทางตอนใต้มาทำหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมและบูชาพระเป็นเจ้าต่างๆด้วย อีกทั้งทางวัดยังได้มีการพัฒนา ซ่อมแซม และปรับปรุงอาคารสถานที่ต่างๆภายในบริเวณวัดอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสวยงามเป็นที่ปรากฏแก่สายตาของทุกท่านดังเช่นในปัจจุบัน 

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เพลง บทสวดบูชาพระพิฆเนศวร

บทสวดบูชาพระพิฆเนศวร




บทสวดมนต์ หรือ คาถา สำหรับบูชาพระพิฆเนศนั้น
ในแบบดั้งเดิมโบราณ มีหลายร้อยๆ บท

และแบบสมัยใหม่ที่มีการดัดแปลงความหมายให้เหมาะสม ก็มีอีกหลายพันบท
ตามแต่ละประเทศ ลัทธิ และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป
(เช่นในประเทศไทย ก็มีการประพันธ์บทสวดพระพิฆเนศขึ้นมาใหม่หลายบทเช่นกัน) 

ท่านสามารถเลือกสวดบทใดๆได้ตามความสะดวก หรือเท่าที่จำได้
ควรเริ่มต้นจากการสวดบทเดียว จากนั้นให้ท่องจำและศึกษาเพิ่มเติมจนสามารถสวดได้หลายๆ บท
ในแต่ละบทสวด จะสวดบูชาแค่รอบเดียวหรือสวด 3 , 5 , 7 , 9 จบก็สามารถทำได้
แต่ชาวฮินดูไม่มีการกำหนดตายตัวว่า มนต์บทใดจะต้องสวดกี่รอบ


สามารถเลือกสวดมนต์บทใดๆ ก่อน-หลัง ได้ด้วยตนเอง จากนั้นจึงขอพร

ชาวพุทธสามารถตั้งนะโม 3 จบแล้วค่อยสวดมนต์บูชาเทพทางพราหมณ์ได้
แต่ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์จะเริ่มสวดบูชาพระพิฆเนศเป็นอันดับแรก
แล้วต่อด้วยการสวดบูชาเทพองค์อื่นๆที่นับถือเพิ่มเติม

คาถา บทสวดบูชาพระพิฆเนศที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด อันได้แก่

- โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ (เป็นบทสวดหลัก)

- โอม กัง คณปัตเย นะมะหะ
(บทสวดของอินเดียเหนือ)

- โอม พิไลยาร์ พิไลยาร์ นะโม นะมะหะ
(บทสวดของอินเดียใต้)

- โอม เหรัมภายะ นะมะหะ
(หมายถึง ขอบูชามหาเทพผู้ยิ่งใหญ่)

- โอม เอกทันตะ ยะนะมะหะ
(หมายถึง ขอบูชาเทพผู้มีงาข้างเดียว)

- โอม กัง คณปติ ชารานัม กะเนชา
(หมายถึง ขอบูชาเทพผู้ทรงเป็นเกราะกำบังข้าพเจ้า) 

- โอม วักกระตุณฑา ฮัม
(หมายถึง ขอนมัสการเทพผู้มีงวงยาวโค้ง)

- โอม ชยะคเณศา / ชยะคเณศา / ชยะคเณศา เทวา
ออกเสียงตาม ไจยกาเนช มนตรา ได้ว่า - โอม ไจย กาเนชา ไจย กาเนชา ไจย กาเนชา เดวา
(หมายถึง ขอชัยชนะจงมีแด่องค์พระพิฆเนศ)

- โอม ศรี มหา คณาธิ ปัตเย นะมะหะ

- โอม พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
 (บทสวดของไทย)

- โอม นะโม พระคเณศายะ / นะโมนะมะ คันธะมาละ
สิทธาหะนัง กะพะมะนะ / สัมมาอะระหัง วันทามิ 
(บทสวดของศิลปากร)

- โองการพินทุ นาถัง อุปปันนัง
พรหมมะโน จะอินโท พิฆเณศวรโต มหาเทโว
อะหัง วันทามิ สัพพะทา / สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเมฯ
(บทสวดของไทยและที่ปรากฎ ณ ศาลพระพิฆเนศ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์) 

- มหาเทวะ มหาสลัม มหาวะศะการัม
พระพิฆเณวา สะวะลัม พรหมมานัง
วิญญานัง โอม ทูปัง ทีปัง / มะนะสะการัม บุปผัง ญะลา ผลังนิล

(บทสวดของพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ)

- โอมปารวตี ปัตตเย ฮารา ฮารา ฮารา มหาเทวา
คาชะนะนัม ภูตะคณาธิเสวะตัม / กะปิตะชัมพู ผะละจารุภักษะณัม
อุมาสุตัม โศกะวินาศะ การะกัม / นะมามิ วิฆเนศวะระ ปาทะปังกะชัม
 (บทสวดดั้งเดิมของอินเดียโบราณ)



ความหมาย : พระพิฆเนศทรงเป็นสิ่งสูงสุด ทรงมีเศียรเป็นช้าง
ทรงมีสาวกมากมาย พระองค์ทรงโปรดผลมะขวิดและผลหว้า (บางตำราว่าผลชมพู่)
พระองค์ทรงเป็นบุตรแห่งพระแม่ปารวตี
ทรงเป็นผู้ทำลายความทุกข์ยากและความเจ็บปวด
ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการ เทพผู้ทรงมีพระบาทดั่งดอกบัว


- วักกระตุณดะ มหากายา
สุริยาโกติ สมาปราภา / นิรวิกนัม คุรุเมเดวา
สารวการ เยสุ สารวาดา

(บทอัญเชิญพระพิฆเนศ นิยมสวดกันมาก โดยเฉพาะในขณะถวายเครื่องสังเวยบูชา)
ความหมาย : ขอน้อมบูชามหาเทพ ผู้มีงวงอันโค้งยาว งดงามยิ่ง
พระองค์มีพระวรกายอันแข็งแกร่ง
บารมีของพระองค์ได้แผ่ออกดั่งแสงอาทิตย์เจิดจ้านับล้านดวง
ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความผาสุขและชี้นำข้าพเจ้าไปสู่สิ่งที่ดีงามด้วยเถิด


- โอม เอกทันตายะ วิดมาเฮ
วักระตุณทายะ ดีมาฮี / ตันโน ดันติ ประโจตะยาต

(บทสวดคเณศาคายตรี)

ความหมาย : เราพร่ำสวดสรรเสริญแด่พระพิฆเนศผู้ยิ่งใหญ่
เราทำสมาธิเพื่อน้อมระลึกถึงท่าน ผู้ซึ่งมีงาข้างเดียว ขอพระองค์โปรดนำทางเราไปสู่สิ่งที่ดีงามด้วยเถิด
 

- โอม ตัด ปุรุษยา วิดมาเฮ
วักระตุณทายะ ดีมาฮี / ตันโน ดันติ ประโจตะยาต
(บทสวดพระพิฆเนศ จาก คัมภีร์คณปติอุปนิษัท)
ความหมาย : เราพร่ำสวดสรรเสริญแด่พระพิฆเนศผู้ยิ่งใหญ่
เราทำสมาธิเพื่อน้อมระลึกถึงท่าน ผู้ซึ่งมีงวงอันโค้งสวยงาม ขอพระองค์โปรดนำทางเราไปสู่สิ่งที่ดีงามด้วยเถิด


- โอม ตัต การาตายะ วิดมาเฮ
ฮาสติ มุกขายะ ดีมาฮี / ตันโน ดันถิ ประโจตะยาต

(บทสวดพระพิฆเนศ จาก นารายณ์อุปนิษัท)

- โอม กัง กันนะปัตเย นะโมนะมะห์
ศรี สิทธิวินายัก นะโมนะมะห์
อัสตะ วินายัก นะโมนะมะห์
กันนะปติ บัปปา โมรายา
บทสวดบูชาองค์ สิทธิวินายัก พระพิฆเนศองค์สำคัญของโลก
และบูชาเทวรูป อัสตะวินายัก พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 8 แห่ง ณ ประเทศอินเดีย
เพลงบูชาจะร้องวนซ้ำไปเรื่อยๆ สามารถเปิดฟังขณะถวายของหรือทำสมาธิ


- โอม ศรี คเณศายะ นมัช
โอม นมัส ศรี อาทยา / เวทา ประทิปาทยา
ชยะ ชยะ สวะ-สัมเวทยา / อาธัม-รูปา

(บทสวดโดยนักพรตและฤาษี)

- โอม ตัดสัต โอม มหาเดวา
มหาณัม มหาวัสสกาลัม / มหาพิฆเนศวรา
พรหมมานัง วิญญานัง / นมัสสามิ นะโม นะมะ

- โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา
หริโอม ศรีคณปตเย นะมะฮา
สิทธิสวาหะ
หริโอม ศรีคณปตเย นะมะฮา
โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา


- โอม ศรีม ฮรีม กลัม / คเณศวรายะ
พรหมรูปายะ จารเว / สรวะ สิทธิ ปรเทศายะ
วิฆเนศายะ นะโม นะมะฮา


- โอม ศรีม กัม สุภัคยะ กันปัตเย
วาร วารดะ สารวาจานัม เม วาษามะเน สวาหะ

(ลักษมีคเณศมนตรา)
สวดเพื่อขอประทานความสำเร็จในการค้าและการติดต่อเรื่องธุรกิจ - บทนี้สวดขอพรได้ทั้งพระแม่ลักษมีและพระพิฆเนศ

- โอม ศรีม ฮรีม กรีม กลัม กันปัตเย
สารวะ การยะ สิทธิ คุรุ คุรุ สวาหะ
(ศริประ คณปติ มนตรา)

- โอม กัม กลัม หะริทรา กันปัตเย วาร วารัดดะ
สารวจัน รทายัม สตัมไภย สตัมไภย สวาหะ

(หริทรา คณปติ มนตรา)

- โอม วักกระตุณทาย กันดาษไตร
กรีม ฮรีม ศรี กัม คณปัตเย วาร วารัดดะ
สารวาจัน เม วาษามะเน สวาหะ

(ไตรโลคยา โมหัน คเณศ มนตรา)

- โอม นะมะหะ อุชชิสตะ
คเณศายะ หัสติ / พิชะสิ ลิเขสวาหะ





ขอขอบคุณเว็บไซต์สยามคเณศ มา ณ ที่นี้ด้วย  http://www.siamganesh.com 

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติและความเป็นมา ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ตอนที่2

นิกายต่างๆของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู 
          ศาสนาฮินดู ที่สืบเนื่องจากศาสนาพราหมณ์นับเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุด ได้แบ่งออกเป็นหลายนิกายที่สำคัญ เช่น
1. นิกายไวศณพ (Vishnav) เป็นนิกายที่นับถือพระวิษณุเจ้าเป็นเทพองค์สูงสุด เชื่อว่าวิษณุสิบปาง หรือนารายณ์ ๑๐ ปางอวตารลงมาจุติ มีพระลักษมีเป็นมเหสี มีพญาครุฑเป็นพาหนะ นิกายนี้มีอิทธิพลมากในอินเดียภาคเหนือและภาคกลาง ของประเทศ นิกายนี้เกิดเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ สถาปนาโดยท่านนาถมุนี (Nathmuni)
2. นิกายไศวะ (Shiva) เป็นนิกายที่เก่าที่สุด นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระศิวะเป็นเทพทำลายและสร้างสรรค์ด้วย สัญลักษณ์ อย่างหนึ่งแทนพระศิวะคือศิวลึงค์และโยนีก็ได้รับการบูชา เช่น องค์พระศิวะ นิกายนี้ถือว่าพระศิวะเท่านั้นเป็นเทพสูงสุดแม้แต่พระพรหม, พระวิษณุก็เป็นรองเทพเจ้าพระองค์นี้ นิกายนี้เชื่อว่า วิญญาณเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นมากกว่าความเชื่อในลัทธิภักดี นิกายนี้จะนับถือพระศิวะและพระนางอุมาหรือกาลีไปพร้อมกัน
3. นิกายศักติ (Shakti) เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ เช่น สรัสวดี พระลักษมี พระอุมา เจ้าแม่ทุรคา และเจ้าแม่กาลีซึ่งเป็นชายาของมหาเทพทั้งหลาย เป็นผู้ทรงกำลังหรืออำนาจของเทพสามีไว้ จึงเรียกว่า ศักติ (Power) นิกายนี้เป็นที่นิยมในรัฐเบงกอล และรัฐอัสสัม เป็นต้น
4. นิกายคณะพัทยะ (Ganabadya) นิกายนี้นับถือพระพิฆเณศเป็นเทพเจ้าสูงสุด ถือว่าพระพิฆเนศเป็นศูนย์กลางแห่งเทพเจ้าทั้งหมดในศาสนา เชื่อว่าเมื่อได้บูชาพระพิฆเนศอย่างเคร่งครัด ก็เท่ากับได้บูชาเทพอื่นๆ ครบทุกพระองค์
5. นิกายสรภัทธะ (Sarabhadh) เป็นนิกายขนาดเล็ก ในสมัยก่อนบูชาพระอาทิตย์ (สูรยะ) มีผู้นับถือมากในอดีต ปัจจุบันมีจำนวนน้อย นิกายนี้มีพิธีอย่างหนึ่งคือ กายตรี หรือ กายาตรี (Gayatri) ถือว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ คือการกลับมาของพระอาทิตย์เป็นฤๅษีวิศวามิตร
6. นิกายสมารธะ (Samardha) เป็นนิกายที่ใหญ่พอสมควร นับถือทุกเทพเจ้าทุกพระองค์ในศาสนา ฮินดู ความเชื่อแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบูชาเจ้าได้ตามต้องการ
ยังมีนิกายอื่นๆอีกมากมาย และแยกย่อยออกไปอีก เช่นเดียวกับศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ ที่มีนิกายน้อย-ใหญ่ แตกแขนงออกมาอีกนับไม่ถ้วน

ประวัติและความเป็นมา ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ตอนที่1

           ศาสนาฮินดู หรือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาเกิดที่ดินแดนชมพูทวีปก่อนพุทธศาสนา ซึ่งไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีคัมภีร์ศาสนาเรียกว่า พระเวท มีพัฒนาการสืบต่อยาวนาน นับจากลัทธิพราหมณ์ จนถึงยุคที่เรียกว่าศาสนาฮินดู จึงมักเรียกรวมๆ กันว่า ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน[
          ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ คือ พระศิวะ(พระอิศวร) เป็นผู้ทำลายความชั่วร้าย  พระพรหม ซึ่งเป็นผู้สร้างโลก  และ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เป็นผู้ปกป้องและรักษาโลก
           
          ประวัติศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ศาสนาฮินดู มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมากกว่า ๓,๐๐๐ ปี เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาเป็นผู้ประกาศศาสนา เป็นศาสนาของชาวอารยะ(ภาษาบาลีเรียกว่าชาวอริยกะ)ซึ่งเชื่อกันว่าอพยพมาจาก ยุโรป เข้ามาสู่อินเดียเมื่อราว ๓,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว ชาวฮินดูเชื่อว่าศาสนาฮินดูสืบทอดมาจากคัมภีร์พระเวทซึ่งเชื่อว่าฤาษีในสมัย ก่อนได้รับ โดยตรงจากพระเป็นเจ้าจึงมีชื่อเรียกรวมๆว่า คัมภีร์ศรุติ (Śruti) จากหลักฐานทางโบราณคดีทำให้เราทราบว่าชาวพื้นเมืองเดิมที่บริเวณลุ่มแม่น้ำ สินธุ
ุ        เป็นเจ้าของวัฒนธรรมซึ่งเรียกกันว่า อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (ราว ๒๐๔๗-๑๓๕๗ปี ก่อน พ.ศ.) เป็นอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองเพราะมีการสร้างเมืองที่มีผังเมืองเป็น ระเบียบ ประชาชนมีการอาบน้ำตามพิธีทางศาสนาเคารพบูชาเทพเปลือยกายที่มีเขาและมีสัตว์ แวดล้อม กราบไหว้เทพที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ นับถือสัตว์คล้ายวัวมีเขาหนึ่งเขา ศาสนาของชาวพื้นเมืองเดิมแตกต่างจากศาสนาของชาวอารยะที่อพยพเข้ามาในภายหลัง ที่มาตั้งรกรากยุคแรกๆที่ลุ่มแม่น้ำสินธุ ชาวอารยะยุคแรกๆเคารพนับถือเทพหลายองค์ที่เป็นพลังอยู่เบื้องหลังธรรมชาติ ซึ่งยังไม่มีรูปร่างแบบรูปร่างมนุษย์อย่าง ชัดเจนเหมือนเทพในศาสนาฮินดูยุคหลัง ยุคที่ชาวอารยะเข้ามานั้นอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุได้ล่มสลายไปแล้ว แต่ศาสนาของชาวพื้นเมืองเดิมก็ยังคงมีผู้นับถือต่อมาและได้มีอิทธิพลต่อ ศาสนาของชาวอารยะในสมัยหลัง
        ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุดในโลก ศาสนาหนึ่ง มีอายุกว่า 4,000 ปี เนื่องจากศาสนา นี้มีวิวัฒนาการ อันยาวนานผ่านขั้นตอนทางประวัติศาสตร์หลายขั้นตอนตั้งแต๋โบราณกาลถึง ปัจจุบัน จึงเป็นการยากในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ให้แจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งกว่าศาสนาอื่นๆ ไม่มีใครกำหนดได้ว่าศาสดาคือใคร จนต้องถือว่าไม่มีศาสดา หรือผู้ก่อตั้งศาสนา คิดว่าเกิดจาก การได้ยินได้ฟังต่อๆ กันมา หรือเกิดจากประสบการณ์ทางศาสนา ของชาวฮินดูร่วมกัน เกิดเป็นคำสอน เป็นคำภีร์ขึ้นจนผู้นับถือศาสนา มีความเชื่อและแนวทางปฏิบัติต่างกันมากมาย ทั้งในสมัยเดียวกัน และสมัยต่างกัน แม้แต่ชื่อของศาสนาเอง ก็ยังเรียกต่างกันไปตาม กาลเวลา
  
          แนวคิดและคำสอน  ศิวลึงค์ เป็นความคิดที่พราหมณ์ในสมัยก่อนคิดกันขึ้นมาเพื่อแสดงเป็น สัญลักษณ์ มิใช่ความปรารถนาของพระศิวะที่จะให้พราหมณ์นับถือศิวลึงค์ หรือโยนีสำหรับลัทธิศักติ การบูชาพระศิวะสามารถทำได้ด้วยการกระทำความดีเพื่อถวายแก่พระศิวะ ผู้ที่ปรารถนาที่จะกลับเข้าสู่ความเป็นอาตมัน หรือ ตรัสรู้สามารถทำได้โดยการ ทำสมาธิ และ ให้คิดว่าร่างกายนี้เราก็ละในที่สุดก็จะตรัสรู้และ มีแสงเป็นจุดกลมๆเป็น ฝอยๆสีขาวคล้ายน้ำหมึก ขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตรบางอันก็เล็กกว่า และมีแสงเป็นรูปคล้ายดาวกระจายขนาดประมาณครึ่งนิ้ว แสงที่เห็นจะมีน้ำหนัก มีลักษณะเป็นก้อน เมื่อกระทบวัตถุสามารถเด้งกลับได้ การตรัสรู้ของศาสนาพราหมณ์คือ "การรู้ว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา" 

         

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

องค์พ่อพระพิฆเนศ - Ganesha - Lord Ganesha



" โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา "

ด้วยความเคารพ ศรัทธา ความรัก  และ  นับถือ ที่มีต่อ องค์พ่อพระพิฆเนศ  จึงได้เกิด เว็บบล๊อกนี้ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งความรู้ ประวัติความเป็นมาขององค์พระพิฆเนศวร วิธีการบูชาต่อพระพิฆเนศ เพื่อส่งเสริมบารมีและเป็นกุศลผลบุญ แก่ผู้ที่ศรัทธาต่อพระคเณศ
เนื้อหาในนี้รวบรวม และ ศึกษามากจากหลากหลายตำรา เพื่อที่จะได้นำมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

สุดท้ายนี้ การบูชาต่อองค์พ่อพระพิฆเนศ หรือ เหล่าเทพเทวา ต่างๆ อยู่ที่ความเคารพและศรัทธาของแต่ล่ะบุคคล อีกทั้งการสะสม หมั่นทำความดี ทำบุญ ทำกุศล จะส่งเสริมให้ องค์เทพต่างๆจะประทานความสำเร็จให้แก่ท่านเอง