วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คำทำนายของ สมเด็จ พุทฒาจารย์ ( โต พรหม รังสี) ตอนที่2

>     คำเตือน
>     โลกมนุษย์กำลังเข้าสู่กาลียุค  จะทำให้เกิดภัยธรรมชาติ  จาก ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  
>     จะเกิดมหาสงครามโลกครั้งที่สามตามมา  มนุษย์จะตายไปกว่าครึ่ง
>     ไฟ โดยเฉพาะจังหวัดติดชายทะเล  และ กรุงเทพฯ
>     แผ่นดินจะยุบตัวคลื่นน้ำจะพัดเข้าถล่ม
>     มีความสูงกว่า  200 เมตร มนุษย์จะล้มตายมากกว่าครึ่ง
>     น้ำจะเข้าช่องแคบสระบุรี  และทางด้านตอนล่างของโคราชบางส่วน
>     ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ สุดท้าย
>     ประเทศไทยจะเหลือประชากรประมาณ 30 %
>     ส่วนประเทศอื่นทั่วโลกจะเหลือเพียง 10%
>     ประชากรผู้รอดชีวิตส่วนมากจะสูญเสียสติสัมปชัญญะไม่ปลอดภัยเหมือนเมืองที่นับถือพระพุทธศาสนา
>     เพราะไม่เข้าใจบำเพ็ญฌานภาวนา
>     ฉะนั้นอย่าหลงใหลในทรัพยสินของตนให้มากนัก
>     เพราะเมื่อเข้าสู่ยุคศิวิไลเงินทอง จะไม่มีค่าเลยเพราะ
>     มนุษย์ยุคนั้นจะเข้าวัดกันที่ความดี ศีลธรรม  ปีมะโรง พ.ศ. 2555
>     ปีมะเส็ง พ.ศ. 2556 ปีระกา พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2561 ปีกุน พ.ศ. 2562
>     คำทำนายของสมเด็จ พุทฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

> รัชกาลที่ 1   ทายว่า มหากาฬ    (ทำลายเพื่อน พี่น้อง)
> รัชกาลที่ 2   ทายว่า ฌาณยักษ์   (ชำนาญเวทมนต์)
>รัชกาลที่ 3   ทายว่า รักมิตร       (มีการค้ากับต่างชาติมากมาย)
>รัชกาลที่ 4   ทายว่า สนิทคำ      (ออกบวช)
>รัชกาลที่ 5   ทายว่า จำแขนขาด (เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง 
> และเขมร เพื่อปกป้อง อธิปไตย)
>รัชกาลที่ 6   ทายว่า ราชโจร
>เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดกลุ่มโจรมากมาย มีการตั้งกองเสือป่าครั้งแรกของเมืองไทย
>รัชกาลที่ 7   ทายว่า ชนร้อนทุกข์ (เกิดการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย)
>รัชกาลที่ 8   ทายว่า ยุคทมิฬ      (พระเจ้าแผ่นดินถูกลอบปลงพระชนม์)
>รัชกาลที่ 9   ทายว่า ถิ่นกาขาว     (มีฝรั่งเข้ามามากมาย นำเงินมาซื้อประเทศไทยให้เกิดวิกฤตการเงิน)
>รัชกาลที่ 10 ทายว่า ชาวศิวิไลย์   (จะมีเหลือเฉพาะผู้ที่มีบุญเท่านั้นที่รอคอย เป็นยุคของพระศรีอริยเมตไตย)

>" โลชังชม โทโพโส อินโกรุณา
>
พระอิทร์พรหม ยมราช ได้สั่งไว้ว่า ถ้าบุคคลใดได้รู้แล้ว จงรับบอกต่อให้คนอื่นฟังรือพิมแจกตามกำลังศัทธา จะเกิดมหากุศลช่วยให้ท่านหลุดพ้นจากมหันตภัยพิบัติทั้งปวง ถ้าใครไม่มีไว้ในบ้านจะมีภูมิปีศาจเข้ามาทำลายอย่างแน่แท้ ผู้ใดนำเรื่องไปพิมแจก 1000 ใบ ภายใน 15-30 วัน ผู้นั้นจะมีโชคลาภ มีความสุข ความเจริญ คิดสิ่งใดสมปรารถนาทุกประการ และผู้ใดได้รู้ได้อ่าน อย่าคิดว่าเป็นการหลอกลวง หรือไม่เชื่อ และผู้ใดคิดจะพืมแจก ก็ต้องพิมพ์แจกภายใน 15-30 วัน อย่าคิดพิมพ์ผัดวันประกันพรุ่ง หรืออ่านแล้วทิ้ง มันผู้นั้นจะมีเรื่อง และมีภัยพิบัติเกิดขึ้นกับผู้นั้น




FW...

คำทำนายของ สมเด็จ พุทฒาจารย์ ( โต พรหม รังสี) ตอนที่1

>     พุทธทำนาย เมื่อปี พ.ศ. 2485 แปลจากศิลาจารึกในมหาวิหารเจตมหาเชตวัน

>     สาธุ อะระหังสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเมตตามหาสัพสัตว์ทั่วโลก

>     ที่เกิดมาแล้วแต่ลำบาก  ทั่วหน้ามุกชาติ

>     ทุกศาสนาตามธรรมชาติ เมื่ออาตมาเข้านิพพานแล้วครบ  5,000  ปีเป็นที่สุด

>     โลกจะหมุนเข้าใกล้จำนวนที่ ตถาคตทำนายไว้ 2,500
   
>     ปีมนุษย์ และ สัตว์จะได้รับภัยพิบัติเสียหนึ่งในระยะ  30  ปี

>      สิ่งที่สาธุชนไม่เคยเจอะจะได้เห็น  ไม่เคยพบจะได้พบยักษ์หินที่ถูกสาป
  
>     ให้หลับกลับตื่นขึ้นมาอาละวาดยิ่งนัก ใกล้กับ พ.ศ. 2550

>     ยิ่งทวีกันใหญ่ขึ้นทุกทิวาราตรี มนุษย์นอกศาสนาจะรบราฆ่าฟันกันจนถึงเลือดตนเองนองเต็มพื้นดิน

>     พื้นน้ำจะลุกลามเผามนุษย์ไม่ขาดระยะ  ต่างฝ่ายต่างทำลาย เหมือน ยักษ์

>     กระหายเลือด แผ่นดินจะลุกเป็นเปลวไฟ

>     ต่างฝ่ายจะตายกันไปอย่างละครึ่งหนึงจึงจะล้มเลิก

>     ส่วนพุทธศาสนิกชน  ผู้ทำแต่บุญเดินตามทางตถาคตสามารถระงับร้อนไม่รุนแรง

>     แต่หนีภัยพิบัติไม่พ้น  ไฟจะลุกลามทางทิศตะวันออกไหม้วัดวาอาราม

>     สมณะชีพราหมณ์  จะอดอยากยากเข็ญ  ลูกไฟจะตกจากฟ้าเหล็กกล้าจะพุดจากน้ำ

>     สงครามจะเกิดทั่วทิศ  ทหารจะเป็นเจ้า  สีขาวจะแพ้ภัยในที่สุด

>     ครุฑจะบินกลับฐาน  คนจะกลับบำรุงพระ

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

องค์พระพิฆเนศที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี

องค์พระพิฆเนศวรที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระศรีมหาอุมาเทวีแห่งนี้ ประดิษฐานอยู่ภายในอาคารเทวาลัยประธานสององค์ด้วยกัน คือ



          องค์แรก ประดิษฐานอยู่ภายในห้องขนาดเล็กด้านขวาของห้องที่ประดิษฐานเทวรูปพระศรีมหามารีอัมมัน ซึ่งถือเป็นเทวรูปประธานของวัด โดยมีลักษณะเป็นเทวรูปพระคเณศประทับนั่ง ทำจากหินแกรนิตสีดำ มีสี่พระกร พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วง) พระกรขวาบนถืออังกุศะ (ขอสับ) พระกรซ้ายล่างถือถ้วยขนม พระกรขวาล่างถืองา ปลายงวงตวัดไปทางซ้ายที่ถ้วยขนม งาที่ด้านขวาหัก และทรงสวมกรัณฑมงกุฎ มีซุ้มหน้ากาล(ทำจากโลหะ)ตั้งอยู่ด้านหลังเทวรูป โดยเทวรูปประดิษฐานอยู่บนแท่นหินสี่เหลี่ยมสีน้ำตาล ด้านหน้าแท่นดังกล่าว เป็นแท่นสีเหลี่ยมที่มีลักษณะคล้ายกันแต่มีขนาดเล็กกว่า สำหรับใช้เป็นที่ตั้งรูปพาหนะขององค์พระคเณศ นั่นก็คือ หนู ทำจากหินแกรนิตสีดำเช่นเดียวกัน







         (เทวรูปพระคเณศที่ทำจากหินแกรหิตสีดำ ประดิษฐานเบื้องหน้าหนู เทพพาหนะของพระองค์ท่าน ภายในเทวาลัยประธานวัดพระศรีมหาอุมาเทวี : ภาพจากหนังสือเรื่อง พระพิฆเนศวร์ : คติความเชื่อและรูปแบบของพระพิฆเนศวร์ที่พบในประเทศไทย)สำหรับเทวรูปพระคเณศองค์นี้ อ.จิรัสสา คชาชีวะ แห่งคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้สันนิษฐานตามลักษณะทางประติมานวิทยาว่า มีลักษณะตามแบบศิลปะอินเดียใต้ตอนปลาย พระวรกายอ้วนเตี้ย ค่อนข้างเทอะทะ หากแต่แฝงไว้ด้วยความหนักแน่นและมีอำนาจ




          เทวรูปพระคเณศอีกองค์หนึ่งซึ่งประดิษฐานรวมอยู่กับเทวรูปขององค์ประเป็นเจ้าอื่นๆบนแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง บริเวณฝั่งขวาด้านในอาคารเทวาลัยประธาน โดยประดิษฐานอยู่เป็นองค์แรกของแท่นดังกล่าว มีลักษณะเป็นเทวรูปสำริด ประทับยืน มีสี่พระกร พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วง) พระกรขวาบนถืออังกุศะ (ขอสับ) พระกรซ้ายล่างถือขนม พระกรขวาล่างถืองา ปลายงวงตวัดหยิบขนมที่อยู่ในพระกรซ้าย งาที่ด้านขวาหัก (คล้ายกับเทวรูปที่ทำจากหินแกรนิตสีดำที่กล่าวไปในข้างต้น) มีซุ้มกาลอยู่เบื้องหลังของเทวรูป 
          ในส่วนของลักษณะทางศิลปกรรมของเทวรูปองค์นี้ เป็นรูปแบบของอินเดียใต้ โดยเทวรูปพระคเณศสำริดองค์นี้จะมีการอัญเชิญออกมาประกอบพิธีสำคัญของวัดหลายพิธี เช่น พิธีคเณศจตุรถี (พิธีบูชาเนื่องในวันคล้ายวันประสูติขององค์พระคเณศ) พิธีบูชาองค์บรมครู(เป็นพิธีบูชาองค์พระคเณศก่อนที่จะเริ่มต้นเทศกาลนวราตรี) เป็นต้น โดยจะมีการอัญเชิญเทวรูปองค์นี้ออกแห่เพื่อให้สานุศิษย์ทั้งหลายได้มีโอกาสสักการะด้วย




แหล่งข้อมูลประกอบการเรียบเรียง :

- หนังสือ พระพิฆเนศวร์ : คติความเชื่อและรูปแบบของพระพิฆเนศวร์ที่พบในประเทศไทยโดย อ.จิรัสสา คชาชีวะ

- สารนิพนธ์เรื่อง รูปแบบทางสถาปัตยกรรมและประติมานวิทยาที่เทวสถานพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) โดย วรรณพรรธน์ เรืองทรัพย์

- รายงานการศึกษาเรื่อง ความสำเร็จในการปฏิบัติภาระกิจของวัดพราหมณ์-ฮินดู : กรณีวัดพระศรีมหาอุมาเทวี โดย บำรุง คำเอก

- หนังสือ ๑๐๐ มุมมองใหม่กรุงเทพฯ โดย กองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

- หนังสือ ของดีกรุงเทพฯ โดย กองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

- บทความเรื่อง “ศักติ ออนทัวร์” โดย ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙



แหล่งที่มาของภาพ :

- ภาพพระคเณศหินแกรนิตสีดำ จากหนังสือ พระพิฆเนศวร์ : คติความเชื่อและรูปแบบของพระพิฆเนศวร์ที่พบในประเทศไทยโดย อ.จิรัสสา คชาชีวะ

- ภาพองค์พระคเณศสำริด โดย คุณหยวน จากเว็ป Hindu Meeting (เดิม)

- ภาพงานแห่พระคเณศในวันบูชาบรมครู วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ โดย คุณลองภูมิ จากเว็ป โอม อารตี

- ภาพขบวนแห่งานประจำปีวัดพระศรีมหาอุมาเทวี วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ โดย @todi_tim จากเว็ป pongdej.multiply.com
 

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) ตอนที่ 2



             ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของวัดพระศรีมหาอุมาเทวีนี้ ถือว่ามีความงดงามตามรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอินเดียตอนใต้ โดยมีช่างผู้ชำนาญการชาวทมิฬ รัฐทมิฬนาฑุ ประเทศอินเดียเป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง จึงทำให้วัดพระศรีมหาอุมาเทวีแห่งนี้มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเทวาลัยในอินเดียทางตอนใต้เป็นอย่างมาก โดยตัววัดประกอบด้วยซุ้มโคปุระจำนวนสองซุ้ม ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออก ซุ้มโคปุระทางด้านทิศตะวันออกจะมีขนาดใหญ่กว่าโคปุระทางด้านทิศเหนือ โดยล้อมรอบตัววัดทั้งทางด้านถนนปั้นและถนนสีลมด้วยกำแพงทั้งสองด้าน




(ส่วนหลังคาของเทวาลัยภายในวัดพระศรีมหาอุมาเทวี มีการประดับด้วยรูปปั้นของพระเป็นเจ้าในศาสนาฮินดู)





(ซุ้มโคปุระทั้งสองด้านของวัด โดยด้านริมของภาพเป็นซุ้มโคปุระทิศเหนือ ส่วนซุ้มตรงกลางของภาพเป็นซุ้มโคปุระทางด้านทิศตะวันออก) 


(ภาพซุ้มโคปุระด้านทิศตะวันออก ฝั่งถนนปั้น เป็นซุ้มโคปุระที่มีขนาดใหญ่ และมีความสวยงามจากการประดับด้วยเทวรูปปูนปั้นของเทพสตรีในปางต่างๆตามความเชื่อของชาวฮินดู) 



                            (ส่วนเรือนยอดของซุ้มโคปุระทางด้านทิศตะวันออก) 




             ถัดจากซุ้มโคปุระทางด้านทิศตะวันออกเข้ามาในบริเวณวัด ทางด้านซ้ายของเทวาลัยประธาน จะพบซุ้มพระเป็นเจ้าของทางศาสนาฮินดูจำนวนสองหลัง คือ ซุ้มของพระพรหม ที่หล่อจากสำริดและซุ้มของเทพนพเคราะห์ในศาสนาฮินดูที่แกะสลักจากหินสีดำ ถัดไปทางด้านหน้าของเทวาลัยประธาน จะมีแท่นหินรูปดอกบัว, เสาธงที่ทำด้วยทองเหลือง,และซุ้มสิงห์ตามลำดับ ซึ่งสิงห์นี้ถือเป็นเทพพาหนะของพระแม่ทุรคาซึ่งเป็นปางหนึ่งของพระแม่อุมาเทวี เทพสตรีที่ได้รับความเคารพอย่างมากในนิกายศักติ ถัดไปทางด้านซ้ายทางทิศตะวันออกจะเป็นหอศิวลึงค์ ประดิษฐานศิวลึงค์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ขององค์ศิวะ มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ ส่วนทางด้านขวาของเทวาลัยประธานทางทิศใต้ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในมีซุ้มเทวรูปจำนวนสามหลังสำหรับใช้ประดิษฐานเทวรูปของเทพองค์ต่างๆ เช่น พระกันตวรายัน พระเปริยาจี พระอัคนิวิรั่น และพระมทุไรวิรั่น ซึ่งทั้งหมดเป็นเทพท้องถิ่นตามความเชื่อของชาวทมิฬ ในประเทศอินเดียทางตอนใต้ 









ภายในเทวาลัยประธาน มีลักษณะอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งด้านในสุดออกเป็นสามส่วน ตรงกลางเป็นห้องสำหรับประดิษฐานเทวรูปของพระศรีมหามารีอัมมัน (Mariamman) หรือพระศรีมหาอุมาเทวี ถัดไปทางด้านขวาเป็นห้องขนาดเล็กสำหรับประดิษฐานเทวรูปองค์พระพิฆเนศ และเช่นเดียวกันทางฝั่งซ้ายเป็นห้องขนาดเล็กสำหรับประดิษฐานเทวรูปของพระขันธกุมาร ซึ่งเทวรูปทั้งสามองค์ที่นี้สร้างมาจากหินแกรนิตสีดำ โดยอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียเมื่อครั้งที่เริ่มสร้างวัดแห่งนี้





 
นอกจากนี้ทางฝั่งขวาและซ้ายของเทวาลัยประธานยังเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูปสำคัญอีกหลายองค์ โดยทางฝั่งขวาเริ่มนับจากประตูทางเข้าประดิษฐานองค์พระพุทธชินราชจำลอง หรือที่นิยมเรียกกันว่า หลวงพ่อชินราชวัดแขก ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ถัดมาเป็นเทวรูปของพระเป็นเจ้าองค์ต่างๆ เช่น พระคเณศ พระวิษณุ พระกฤษณะ พระศิวะ พระขันธกุมาร พระแม่อุมา พระแม่ลักษมี และพระแม่สรัสวตี เป็นต้น ส่วนทางฝั่งซ้ายภายในเทวาลัยเป็นซุ้มขนาดเล็ก ซึ่งภายในประดิษฐานเทวรูปศิวะนาฏราชและพระแม่ศิวะกามี่ โดยเทวรูปทั้งหมดที่กล่าวไปในข้างต้นหล่อจากโลหะสำริด อัญเชิญมาจากประเทศอินเดียเพื่อมาประดิษฐานภายในเทวาลัยประธานแห่งนี้
 

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) ตอนที่ 1


       

           กล่าวถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือ ศาสนสถานทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในกรุงเทพมหานคร วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ ที่นิยมเรียกกันว่า วัดแขก สีลมก็คงเป็นอีกหนึ่งศาสนสถานที่หลายท่านรู้จักและเคยแวะเวียนไปกราบสักการะ ณสถานที่แห่งนี้ โดยศาสนสถานดังกล่าวมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและมีความน่าสนในที่สำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผมหยิบยกเรื่องราวของศาสนสถานแห่งนี้มาเรียบเรียงเป็นบทความขึ้นก็เนื่องมาจาก สถานที่นี้เป็นอีกแห่งที่ประดิษฐานเทวรูปองค์พระคเณศซึ่งมีลักษณะทางประมากรรมที่งดงามตามแบบฉบับของอินเดียใต้ 

           ในส่วนพื้นที่แถวสีลมชาวอินเดียที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในบริเวณถนนสีลมนั้นมีทั้งชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลามและชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู โดยส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมถนนตั้งแต่สุสานจีนไปจนถึงถนนสุรศักดิ์ แถบตรอกตำบีซา ตรอกไวตี ถนนปั้น ถนนประมวญและริมคลองบริเวณซอยประดิษฐ์ ซอยปราโมทย์และซอยตรงข้ามถนนคอนแวนต์ ซึ่งในอดีตบริเวณดังกล่าวมีชาวอินเดียอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันมีจำนวนชาวอินเดียที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้อย่างถาวรมีจำนวนลดลง เนื่องจากส่วนหนึ่งได้มีการอพยพออกนอกพื้นที่หรือไม่ก็กลับประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของตนไป 


(พระแม่มารีอัมมัน เทพสตรีที่ชาวอินเดียตอนใต้หรือชาวทมิฬ ซึ่งเป็นผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู นิกายศักติให้ความเคารพสักการะ)



          จากการตั้งถิ่นฐานของชาวอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องมีการก่อสร้างศาสนสถานเพื่อเป็นศูนย์รวมแห่งความศรัทธาของผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู และเพื่อเป็นที่ประกอบพิธีบูชาพระเป็นเจ้าตามลัทธิความเชื่อของตน นั่นจึงเป็นที่มาของการสร้างเทวสถานพระศรีมหาอุมาเทวีขึ้น ซึ่งวัดแห่งนี้ถือเป็นวัดในศาสนาฮินดู นิกายศักติ สร้างโดยชาวอินเดียที่อพยพมาจากทางอินเดียตอนใต้ ที่เรียกว่า ชาวทมิฬ ในระยะแรกมีการก่อสร้างเป็นเพียงศาลไม้เล็กๆเพื่อประดิษฐานองค์พระแม่ศรีมารีอัมมัน     (พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี) ซึ่งเป็นเทพสตรีที่ชาวทมิฬให้ความเคารพสักการะ






          ในสมัยต่อมาราวปี พ.ศ.๒๔๓๘-๒๔๔๓ (ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕) ชาวอินเดียตอนใต้ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณถนนสีลม นำโดยนายไวตี ประเดียอะจิ นายนารายเจติ นายโกบาระตี และญาติมิตรที่มีจิตศรัทธาได้ร่วมใจกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินตรงถนนปั้น (บริเวณที่ตั้งปัจจุบันของวัดแขก) เพื่อที่จะสร้างเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งที่ดินบริเวณนี้สวนผักของนางปั้น อุปการโกษา จำนวน ๒๙๒ ตารางวา และเมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้มีการจัดตั้งเป็นคณะกรรมการเพื่อบริหารดูแลเทวสถานแห่งนี้ด้วย โดยต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๘ ได้มีการจดทะเบียนเทวสถานแห่งนี้ในนาม “มูลนิธิวัดพระศรีมหามารีอัมมัน” และได้มีการนำเทวรูปจากประเทศอินเดียมาประดิษฐานเพิ่มขึ้นจากเมื่อครั้งที่เริ่มสร้างวัด นอกจากนี้ทางคณะกรรมการมูลนิธิฯยังได้เชิญพราหมณ์จากประเทศอินเดียทางตอนใต้มาทำหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมและบูชาพระเป็นเจ้าต่างๆด้วย อีกทั้งทางวัดยังได้มีการพัฒนา ซ่อมแซม และปรับปรุงอาคารสถานที่ต่างๆภายในบริเวณวัดอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสวยงามเป็นที่ปรากฏแก่สายตาของทุกท่านดังเช่นในปัจจุบัน 

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เพลง บทสวดบูชาพระพิฆเนศวร

บทสวดบูชาพระพิฆเนศวร




บทสวดมนต์ หรือ คาถา สำหรับบูชาพระพิฆเนศนั้น
ในแบบดั้งเดิมโบราณ มีหลายร้อยๆ บท

และแบบสมัยใหม่ที่มีการดัดแปลงความหมายให้เหมาะสม ก็มีอีกหลายพันบท
ตามแต่ละประเทศ ลัทธิ และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป
(เช่นในประเทศไทย ก็มีการประพันธ์บทสวดพระพิฆเนศขึ้นมาใหม่หลายบทเช่นกัน) 

ท่านสามารถเลือกสวดบทใดๆได้ตามความสะดวก หรือเท่าที่จำได้
ควรเริ่มต้นจากการสวดบทเดียว จากนั้นให้ท่องจำและศึกษาเพิ่มเติมจนสามารถสวดได้หลายๆ บท
ในแต่ละบทสวด จะสวดบูชาแค่รอบเดียวหรือสวด 3 , 5 , 7 , 9 จบก็สามารถทำได้
แต่ชาวฮินดูไม่มีการกำหนดตายตัวว่า มนต์บทใดจะต้องสวดกี่รอบ


สามารถเลือกสวดมนต์บทใดๆ ก่อน-หลัง ได้ด้วยตนเอง จากนั้นจึงขอพร

ชาวพุทธสามารถตั้งนะโม 3 จบแล้วค่อยสวดมนต์บูชาเทพทางพราหมณ์ได้
แต่ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์จะเริ่มสวดบูชาพระพิฆเนศเป็นอันดับแรก
แล้วต่อด้วยการสวดบูชาเทพองค์อื่นๆที่นับถือเพิ่มเติม

คาถา บทสวดบูชาพระพิฆเนศที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด อันได้แก่

- โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ (เป็นบทสวดหลัก)

- โอม กัง คณปัตเย นะมะหะ
(บทสวดของอินเดียเหนือ)

- โอม พิไลยาร์ พิไลยาร์ นะโม นะมะหะ
(บทสวดของอินเดียใต้)

- โอม เหรัมภายะ นะมะหะ
(หมายถึง ขอบูชามหาเทพผู้ยิ่งใหญ่)

- โอม เอกทันตะ ยะนะมะหะ
(หมายถึง ขอบูชาเทพผู้มีงาข้างเดียว)

- โอม กัง คณปติ ชารานัม กะเนชา
(หมายถึง ขอบูชาเทพผู้ทรงเป็นเกราะกำบังข้าพเจ้า) 

- โอม วักกระตุณฑา ฮัม
(หมายถึง ขอนมัสการเทพผู้มีงวงยาวโค้ง)

- โอม ชยะคเณศา / ชยะคเณศา / ชยะคเณศา เทวา
ออกเสียงตาม ไจยกาเนช มนตรา ได้ว่า - โอม ไจย กาเนชา ไจย กาเนชา ไจย กาเนชา เดวา
(หมายถึง ขอชัยชนะจงมีแด่องค์พระพิฆเนศ)

- โอม ศรี มหา คณาธิ ปัตเย นะมะหะ

- โอม พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
 (บทสวดของไทย)

- โอม นะโม พระคเณศายะ / นะโมนะมะ คันธะมาละ
สิทธาหะนัง กะพะมะนะ / สัมมาอะระหัง วันทามิ 
(บทสวดของศิลปากร)

- โองการพินทุ นาถัง อุปปันนัง
พรหมมะโน จะอินโท พิฆเณศวรโต มหาเทโว
อะหัง วันทามิ สัพพะทา / สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเมฯ
(บทสวดของไทยและที่ปรากฎ ณ ศาลพระพิฆเนศ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์) 

- มหาเทวะ มหาสลัม มหาวะศะการัม
พระพิฆเณวา สะวะลัม พรหมมานัง
วิญญานัง โอม ทูปัง ทีปัง / มะนะสะการัม บุปผัง ญะลา ผลังนิล

(บทสวดของพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ)

- โอมปารวตี ปัตตเย ฮารา ฮารา ฮารา มหาเทวา
คาชะนะนัม ภูตะคณาธิเสวะตัม / กะปิตะชัมพู ผะละจารุภักษะณัม
อุมาสุตัม โศกะวินาศะ การะกัม / นะมามิ วิฆเนศวะระ ปาทะปังกะชัม
 (บทสวดดั้งเดิมของอินเดียโบราณ)



ความหมาย : พระพิฆเนศทรงเป็นสิ่งสูงสุด ทรงมีเศียรเป็นช้าง
ทรงมีสาวกมากมาย พระองค์ทรงโปรดผลมะขวิดและผลหว้า (บางตำราว่าผลชมพู่)
พระองค์ทรงเป็นบุตรแห่งพระแม่ปารวตี
ทรงเป็นผู้ทำลายความทุกข์ยากและความเจ็บปวด
ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการ เทพผู้ทรงมีพระบาทดั่งดอกบัว


- วักกระตุณดะ มหากายา
สุริยาโกติ สมาปราภา / นิรวิกนัม คุรุเมเดวา
สารวการ เยสุ สารวาดา

(บทอัญเชิญพระพิฆเนศ นิยมสวดกันมาก โดยเฉพาะในขณะถวายเครื่องสังเวยบูชา)
ความหมาย : ขอน้อมบูชามหาเทพ ผู้มีงวงอันโค้งยาว งดงามยิ่ง
พระองค์มีพระวรกายอันแข็งแกร่ง
บารมีของพระองค์ได้แผ่ออกดั่งแสงอาทิตย์เจิดจ้านับล้านดวง
ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความผาสุขและชี้นำข้าพเจ้าไปสู่สิ่งที่ดีงามด้วยเถิด


- โอม เอกทันตายะ วิดมาเฮ
วักระตุณทายะ ดีมาฮี / ตันโน ดันติ ประโจตะยาต

(บทสวดคเณศาคายตรี)

ความหมาย : เราพร่ำสวดสรรเสริญแด่พระพิฆเนศผู้ยิ่งใหญ่
เราทำสมาธิเพื่อน้อมระลึกถึงท่าน ผู้ซึ่งมีงาข้างเดียว ขอพระองค์โปรดนำทางเราไปสู่สิ่งที่ดีงามด้วยเถิด
 

- โอม ตัด ปุรุษยา วิดมาเฮ
วักระตุณทายะ ดีมาฮี / ตันโน ดันติ ประโจตะยาต
(บทสวดพระพิฆเนศ จาก คัมภีร์คณปติอุปนิษัท)
ความหมาย : เราพร่ำสวดสรรเสริญแด่พระพิฆเนศผู้ยิ่งใหญ่
เราทำสมาธิเพื่อน้อมระลึกถึงท่าน ผู้ซึ่งมีงวงอันโค้งสวยงาม ขอพระองค์โปรดนำทางเราไปสู่สิ่งที่ดีงามด้วยเถิด


- โอม ตัต การาตายะ วิดมาเฮ
ฮาสติ มุกขายะ ดีมาฮี / ตันโน ดันถิ ประโจตะยาต

(บทสวดพระพิฆเนศ จาก นารายณ์อุปนิษัท)

- โอม กัง กันนะปัตเย นะโมนะมะห์
ศรี สิทธิวินายัก นะโมนะมะห์
อัสตะ วินายัก นะโมนะมะห์
กันนะปติ บัปปา โมรายา
บทสวดบูชาองค์ สิทธิวินายัก พระพิฆเนศองค์สำคัญของโลก
และบูชาเทวรูป อัสตะวินายัก พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 8 แห่ง ณ ประเทศอินเดีย
เพลงบูชาจะร้องวนซ้ำไปเรื่อยๆ สามารถเปิดฟังขณะถวายของหรือทำสมาธิ


- โอม ศรี คเณศายะ นมัช
โอม นมัส ศรี อาทยา / เวทา ประทิปาทยา
ชยะ ชยะ สวะ-สัมเวทยา / อาธัม-รูปา

(บทสวดโดยนักพรตและฤาษี)

- โอม ตัดสัต โอม มหาเดวา
มหาณัม มหาวัสสกาลัม / มหาพิฆเนศวรา
พรหมมานัง วิญญานัง / นมัสสามิ นะโม นะมะ

- โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา
หริโอม ศรีคณปตเย นะมะฮา
สิทธิสวาหะ
หริโอม ศรีคณปตเย นะมะฮา
โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา


- โอม ศรีม ฮรีม กลัม / คเณศวรายะ
พรหมรูปายะ จารเว / สรวะ สิทธิ ปรเทศายะ
วิฆเนศายะ นะโม นะมะฮา


- โอม ศรีม กัม สุภัคยะ กันปัตเย
วาร วารดะ สารวาจานัม เม วาษามะเน สวาหะ

(ลักษมีคเณศมนตรา)
สวดเพื่อขอประทานความสำเร็จในการค้าและการติดต่อเรื่องธุรกิจ - บทนี้สวดขอพรได้ทั้งพระแม่ลักษมีและพระพิฆเนศ

- โอม ศรีม ฮรีม กรีม กลัม กันปัตเย
สารวะ การยะ สิทธิ คุรุ คุรุ สวาหะ
(ศริประ คณปติ มนตรา)

- โอม กัม กลัม หะริทรา กันปัตเย วาร วารัดดะ
สารวจัน รทายัม สตัมไภย สตัมไภย สวาหะ

(หริทรา คณปติ มนตรา)

- โอม วักกระตุณทาย กันดาษไตร
กรีม ฮรีม ศรี กัม คณปัตเย วาร วารัดดะ
สารวาจัน เม วาษามะเน สวาหะ

(ไตรโลคยา โมหัน คเณศ มนตรา)

- โอม นะมะหะ อุชชิสตะ
คเณศายะ หัสติ / พิชะสิ ลิเขสวาหะ





ขอขอบคุณเว็บไซต์สยามคเณศ มา ณ ที่นี้ด้วย  http://www.siamganesh.com